เทคโนโลยีอัจฉริยะเพื่อผู้สูงวัย

ในเอเชีย เราสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น และมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน แต่ก็ส่งผลให้เกิดความต้องการจากผู้ให้บริการเฮลธ์แคร์ในภูมิภาคพุ่งสูง ในแง่ของบริการด้านการดูแลรักษาทางแพทย์คุณภาพสูงอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง จากรายงานของธนาคารโลกเผยว่า ประชากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกมีผู้มีอายุสูงวัยเร็วกว่าภูมิภาคใดในประวัติศาสตร์ โดยมีผู้ที่อายุเกิน 65 ปี คิดเป็น 36 เปอร์เซ็นต์ของประชากรโลก (211 ล้านคน) โดยประเทศสิงคโปร์ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ถูกพิจารณาว่ามี “ผู้สูงอายุที่ชรามาก” ขณะที่ประเทศอื่นๆ ที่มีประชากรสูงอายุเติบโตเร็วมาก ยังได้แก่ ประเทศจีน อินโดนีเซีย ไทย และเวียตนาม โดยต่อไปในอนาคตก็จะมีเรื่องของโรคเรื้อรังที่ทำให้เกิดความต้องการหน่วยงานที่ดูแลสุขภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งปกติก็จะถูกจำกัดด้วยงบประมาณและการขาดแคลนทรัพยากรอยู่แล้ว

เพื่อตอบสนองความต้องการของประชากรที่สูงวัยมากขึ้น จำเป็นต้องมีการมุ่งเน้นหาทางเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานที่ดีขึ้น ขณะเดียวกันต้องปรับปรุงเรื่องของความปลอดภัยและความพึงพอใจของผู้ป่วยควบคู่กันไป ด้วยการผสานรวมเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมเข้ากับระบบโครงสร้างพื้นฐานทางการแพทย์ ทั้งนี้ระเบียบวาระการประชุมเรื่อง “ยุทธศาสตร์ระดับโลกเกี่ยวกับทรัพยากรมนุษย์เพื่อการดูแลสุขภาพ : คนทำงานในปี 2030” (Global Strategy on Human Resources for Health: Workforce 2030) ขององค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้การสนับสนุนนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงและเสริมสร้างระบบสุขภาพแห่งชาติในยุค “บิ๊กดาต้า” ในขณะเดียวกันโรงพยาบาลในปัจจุบัน ใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยมากกว่าอาคารสำนักงานขนาดใหญ่ทั่วไปถึง 3 เท่า จึงนับเป็นการเพิ่มภาระด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่สูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าการออกแบบสิ่งก่อสร้างแห่งใหม่ หรือ การขยายโรงพยาบาลก็ตาม สิ่งอำนวยความสะดวกในสถานดูแลสุขภาพและโรงพยาบาล ต่างต้องเผชิญกับภาวะแรงกดดันที่ต้องดำเนินการให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยทรัพยากรที่น้อยลง นอกจากนี้สิ่งสำคัญคือการพิจารณาการลงทุนในเทคโนโลยีโซลูชันด้านเฮลธ์แคร์อย่างรอบคอบ เพื่อมอบคุณภาพการดูแล ความปลอดภัยของคนไข้ การรักษาความปลอดภัยในโรงพยาบาล ตลอดจนผลลัพธ์จากการทำงานของพนักงานในโรงพยาบาลได้ดียิ่งขึ้น

ทอมมี่ เหลียง ประธานบริษัท ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประจำภาคพื้นเอเชียตะวันออกและญี่ปุ่น

สร้างอนาคต กับโรงพยาบาลที่พร้อม

โรงพยาบาลที่ได้รับการออกแบบมาอย่างดีที่สุด จะต้องรองรับการนำอุปกรณ์ทันสมัยที่ซับซ้อนมาใช้งาน เพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ฉุกเฉินได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงระบบบิวด์-อิน เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์ และความล้มเหลวทางเทคนิค อีกทั้งต้องจัดให้มีพื้นที่ที่ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยในการรักษาพร้อมด้วยบุคลากรทางการแพทย์ในการทำงาน ซึ่งคำตอบก็คือระบบโครงสร้างดิจิทัลของเฮลธ์แคร์ ที่เรียกว่า EcoStruxure™ for Healthcare (อีโคสตรัคเจอร์สำหรับเฮลธ์แคร์) ซึ่งใช้เทคโนโลยีล่าสุด ได้แก่ 1) การเชื่อมต่อและความฉลาดแบบฝังตัว 2) การควบคุมแบบอัจฉริยะ การบริหารจัดการ และระบบอัตโนมัติ รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุด 3) การบริการดิจิทัลบนคลาวด์ ทั้งนี้ EcoStruxure for Healthcare จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นระบบประสาทส่วนกลางของโรงพยาบาล โดยทำหน้าที่เชื่อมโยงช่องว่างระหว่างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และเทคโนโลยีส่วนปฏิบัติการ (OT) ใน 3 ระดับ ได้แก่ การเชื่อมต่อผลิตภัณฑ์ ซอฟต์แวร์ควบคุมและการมอนิเตอร์ รวมไปถึงแอปพลิเคชั่นและการวิเคราะห์ ทั้งนี้เพื่อสร้างประสิทธิภาพได้ตลอดทั่วทั้งองค์กร เป็นการสร้าง “ความพร้อมสำหรับอนาคต” ให้โรงพยาบาล

การรวมโครงสร้างพื้นฐานอัจฉริยะและการเพิ่มศักยภาพด้านการสื่อสารระหว่างระบบงานดั้งเดิมที่แตกต่างกัน นำไปสู่การใช้ประโยชน์ได้เต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พร้อมให้ผลตอบแทนจากการลงทุน จากการเชื่อมต่ออุปกรณ์ของโครงสร้างพื้นฐาน หรือ อินทอร์เน็ต ออฟ ธิงส์ (IoT) เช่น เซ็นเซอร์อุณหภูมิ มิเตอร์ไฟฟ้า อุปกรณ์ควบคุมอาคารในระบบอัตโนมัติ อุปกรณ์ระบบระบุพื้นที่แบบเรียลไทม์และอื่น ๆ โดยอุปกรณ์ที่ให้ความสามารถด้าน IoT เหล่านี้ ให้ประโยชน์หลายอย่าง เช่น ระบบควบคุมและสมองกลแบบฝังตัว ให้ความสามารถในการมอนิเตอร์และควบคุมการทำงานผ่านคลาวด์ ตลอดจนการวิเคราะห์ขั้นสูง ด้วยการใช้ซอฟต์แวร์ โดยข้อมูลที่รวบรวมผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อเหล่านี้ จะถูกนำมาใช้เพื่อช่วยให้ตัดสินใจได้ดีขึ้น พร้อมปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น

ตัวอย่างเช่น โซลูชันที่ช่วยสร้างสภาพแวดล้อมทางคลินิกให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สามารถแชร์สถานะการใช้ห้องผู้ป่วยและห้องผ่าตัด ด้วย ระบบบริหารจัดการอาคาร (Building Management System หรือ BMS) ซึ่งจะตั้งค่าห้องเพื่อให้สามารถกำหนดค่าการทำงานล่วงหน้าสำหรับระบบปรับสภาวะอากาศที่เหมาะสม (HVAC) รวมไปถึงแสงสว่างระหว่างที่ห้องว่าง เพื่อการประหยัดพลังงานในช่วงที่ห้องไม่มีการใช้งาน ทั้งนี้ ระบบบริหารจัดการอาคารจะจัดการระบบต่างๆ ให้กลับสู่การทำงานตามปกติ เมื่อได้รับการแจ้งเตือนว่าผู้ป่วยจะกลับมา หรือในเวลาที่ห้องถูกกำหนดให้รักษาสภาพแวดล้อมในระดับที่เหมาะสมสำหรับการรักษาและดูแลให้ผู้ป่วยได้รับความพึงพอใจ

ประเทศสิงคโปร์ มีตัวอย่างที่น่าสนใจถึงวิธีการทำให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีอัจฉริยะสามารถให้บริการด้านสุขภาพเติบโตและสนองความต้องการของผู้ป่วย เห็นได้จากการนำโซลูชั่นการจัดการโครงสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ (Data Center Infrastructure Management หรือ DCIM) ของ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค มาใช้ในระบบนวัตกรรมดูแลสุขภาพแบบบูรณาการ (Integrated Healthcare Innovation Systems หรือ IHIS) ซึ่งโซลูชันดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบนวัตกรรมดูแลสุขภาพแบบบูรณาการ เป็นไพร์เวทคลาวด์ด้านสุขภาพ หรือ H-Cloud ถูกพัฒนาเพื่อแทนที่ไซโลไอทีรุ่นเก่าและเป็นแพลตฟอร์มที่ยืดหยุ่นรองรับการเกิดภัยพิบัติ สำหรับเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ทั้ง 6 ระบบสุขภาพในภูมิภาคของประเทศสิงค์โปร์ ทั้งนี้การประเมินที่จัดทำขึ้นอย่างอิสระโดย PwC ชี้ให้เห็นว่าระบบคลาวด์ด้านสุขภาพ จะช่วยประหยัดเงินได้หลายล้านเหรียญสหรัฐในช่วงสิบปีข้างหน้า กลุ่มโรงพยาบาลแต่ละแห่งจะลดค่าใช้จ่ายลงได้เกือบ 55 เปอร์เซ็นต์ เทียบกับค่าใช้จ่ายตามปกติทั่วไปภายในปี 2568

ปรับปรุงการดูแลผู้สูงอายุและให้ประสบการณ์ที่ดีขึ้น

โรงพยาบาลกับการเดิมพันที่สูง 1) การเข้าถึงไฟฟ้า หรือ ไฟฟ้าดับ หมายถึงความแตกต่างระหว่าง ความเป็น และความตาย และมีต้นทุนเฉลี่ยมากว่า 1 ล้านเหรียญ สำหรับโรงพยาบาล 200 เตียง 2) อุบัติการณ์ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย และการติดเชื้อในโรงพยาบาล ยังคงคร่าชีวิตอย่างต่อเนื่อง โดยเชื่อว่ามีผู้ป่วยติดที่เชื้อในโรงพยาบาลในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ 7 – 46 เปอร์เซ็นต์

ข่าวดีก็คือถ้ามีการป้องกันที่เหมาะสม จะสามารถลดอุบัติการณ์ที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยและการติดเชื้อในโรงพยาบาล ตลอดจนความผิดพลาดทางการแพทย์และพลัดตกหกล้มของผู้ป่วยได้

การทดสอบระบบจ่ายไฟฟ้าและระบบจ่ายไฟฉุกเฉินแบบอัตโนมัติ ช่วยลดผลกระทบจากความผิดพลาดของมนุษย์ โรงพยาบาลสามารถเพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ป่วยและลดความเสี่ยงทางการเงินจากความผิดพลาด และการฟ้องร้องจากการเสียชีวิต นอกจากนี้ระบบอัตโนมัติยังช่วยให้แน่ใจว่าถึงการดำเนินการที่สอดคล้องตามกฎระเบียบ รวมถึงการออกรายงานเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อบังคับและกฎระเบียบ

เพื่อลดความจำเป็นในการดูแลบุคลากร และค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการดำเนินงาน โรงพยาบาลสามารถใส่ความเป็นอัจฉริยะเข้าไปในระบบระบายอากาศ เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของคนไข้ รวมถึงเรื่องการซ่อมบำรุงที่เหมาะสม ระบบอัจฉริยะดังกล่าวจะสามารถมอนิเตอร์ และดูแลได้โดยอัตโนมัติ ทั้งเรื่องความชื้น การระบายอากาศ ความดันอากาศ รวมไปถึงการกรองอากาศแบบ HEPA (High-efficiency particulate absorption) ในแบบเรียลไทม์ พร้อมมั่นใจถึงการควบคุมระบบเหล่านี้ได้ตามข้อกำหนดด้านการออกแบบ

สำหรับผู้ให้บริการเฮลธ์แคร์แล้ว การมอบประสบการณ์การมีส่วนร่วมของคนไข้ ในเชิงบวก และการให้บริการคุณภาพสูงนับเป็นสิ่งที่มีคุณค่า ตัวอย่างเช่น รายได้ประจำปีของโรงพยาบาล 120 ล้านเหรียญ ช่วยเพิ่มความพึงพอใจของผู้ป่วย และทำให้เห็นถึงรายได้ประจำปีที่เพิ่มขึ้นมา จากประมาณ 2.2 ล้านเหรียญ เป็น 5.4 ล้านเหรียญ

ความปลอดภัยของผู้ป่วย เริ่มที่รากฐานเป็นอย่างแรก ทั้งรากฐานทางกายภาพของระบบอำนวยความสะดวกในโรงพยาบาล เมื่อคนเราเริ่มชรา และประสบปัญหาโรคเรื้อรังมากมายมายรุมเร้า จำเป็นต้องอาศัยกระบวนทัศน์ใหม่ในการดูแลรักษาทั้งในโรงพยาบาล คลินิก รวมถึงที่บ้าน

ในงานปฏิบัติการส่วนหน้า ต้องทำให้สิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ในเฮลธ์แคร์ ทำงานได้ดีขึ้นและฉลาดมากขึ้น มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในขณะที่ใช้ทรัพยากรน้อยลง โครงการเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงานสามารถปลดล็อคอุปสรรคในเรื่องของเงินทุน โดยช่วยให้โรงพยาบาลมีกำไรมากขึ้น หรือเพื่อนำไปใช้สนับสนุนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี อุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือ เพิ่มประสบการณ์ที่ดีให้ผู้ป่วยให้ครบทุกองค์ประกอบที่สำคัญ ซึ่งจะส่งผลอย่างมากในการลดต้นทุน และช่วยปรับปรุงในเรื่องของการยึดถือคนไข้เป็นศูนย์กลาง (patient-centric) ได้อย่างจริงจัง โดย 54 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริหารด้านเฮลธ์แคร์ได้จัดอันดับในเรื่องประสบการณ์และความพึงพอใจของผู้ป่วยเป็นเรื่องสำคัญสามอันดับแรก เช่นเดียวกับความพร้อมของโซลูชั่นอัตโนมัติ ที่ให้ศักยภาพด้านระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านเฮลธ์แคร์อัจฉริยะ ซึ่งโรงพยาบาลที่พร้อมสำหรับอนาคต อาจกลายเป็นความจริงที่แพร่หลายภายในไม่ช้า แทนที่จะเป็นแค่แนวคิดเชิงทดลอง

การนำระบบโครงสร้างพื้นฐานและแอปพลิเคชั่นอันชาญฉลาดมาใช้ จะช่วยให้ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกมีรากฐานที่มั่นคงในการปฏิรูปอนาคตด้านสุขภาพและการดูแลทางสังคมให้กับผู้สูงอายุ ทั้งนี้ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เชื่อว่าเทคโนโลยีอัจฉริยะคือคำตอบ และเป็นโซลูชันที่ทำให้องค์กรด้านเฮลธ์แคร์สามารถประสบความสำเร็จได้ตั้งแต่วันนี้

เกี่ยวกับชไนเดอร์ อิเล็คทริค

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นในการจัดการพลังงาน และระบบออโตเมชั่น ตั้งแต่ บ้าน อาคาร ดาต้าเซ็นเตอร์ ระบบโครงสร้างพื้นฐาน และอุตสาหกรรมต่างๆ ด้วยการยืนหยัดอยู่ในเวทีระดับโลกในกว่า 100 ประเทศ

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค เป็นผู้นำที่โดดเด่นในด้านการจัดการพลังงาน ทั้งแรงดันไฟฟ้าขนาดกลาง-ต่ำ และระบบสำรองไฟฟ้า รวมถึงระบบออโตเมชั่นต่างๆ เรานำเสนอโซลูชั่นแบบบูรณาการที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการผสานการทำงานร่วมกันทั้งในส่วนของพลังงาน ระบบออโตเมชั่น และซอฟต์แวร์ เรามีระบบนิเวศทั่วโลก ซึ่งเป็นการประสานความร่วมมือกับคู่ค้ารายใหญ่ที่สุด รวมถึงชุมชนนักพัฒนาและผู้วางระบบบนแพลตฟอร์มเปิด เพื่อมอบประสิทธิภาพด้านการดำเนินงาน และการควบคุมในแบบเรียลไทม์ เราเชื่อว่าด้วยผู้คนที่ยอดเยี่ยมเหล่านี้ และพันธมิตรของเรา จะช่วยให้ชไนเดอร์ อิเล็คทริคเป็นบริษัทที่เยี่ยมยอด พร้อมกับคำมั่นสัญญาของเราที่มุ่งมั่นในเรื่องการสร้างนวัตกรรม ความหลากหลาย และความยั่งยืนช่วยให้ทุกคนมั่นใจได้ว่า “Life is On” ในทุกที่สำหรับทุกคน และทุกช่วงเวลา www.schneider-electric.co.th
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
บริษัท เอพีพีอาร์ มีเดีย จํากัด 02-655-6633
ทนุ รักษาผล /086 398 1290 / thanu@apprmedia.com
นวรัตน์ ฉัตรดรงค์ /090 093 6555 /nawarat@apprmedia.com
สุชลี พงษ์ประเสริฐ / 094 919 4663 / suchalee@apprmedia.com

Related posts:

You may also like...