โรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า เป็นหนึ่งในโรคร้ายที่กำลังคุกคามสุขภาวะของคนทุกเพศทุกวัย และคนวัยกลางคนจำนวนมาก กำลังเป็นโรคนี้โดยไม่รู้ตัว !!

เป็นเรื่องน่ายินดีที่สังคมในปัจจุบัน เริ่มรู้จักและเข้าใจมากขึ้น ถึง ‘โรคซึมเศร้า’ ว่าเป็นผลมาจากความไม่สมดุลของการหลั่งสารเคมีในสมอง ที่เป็นตัวกำหนดความรู้สึกและอารมณ์แบบต่างๆของคนเรา ซึ่งโรคซึมเศร้าที่กำลังระบาดนี้ มีผลต่อสภาพจิตใจของผู้ป่วย สามารถรักษาได้ด้วยยา แต่ที่สำคัญคือจะต้องได้รับการรักษาจากแพทย์อย่างเร่งด่วน หากละเลยไม่ให้ความสำคัญ ไม่ได้รับการบำบัดอย่างทันท่วงที อาจส่งผลรุนแรงถึงขั้นทำให้เกิดการฆ่าตัวตาย ดังที่เราพบเห็นกันในข่าวมากมาย

.

อย่างไรก็ดี ความผิดพลาดสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในการสื่อสารความเข้าใจเกี่ยวกับ #โรคซึมเศร้า คือการเรียกมันว่า โรคซึมเศร้า เพราะอาการของโรคมันไม่ได้มีแค่ “ซึม” หรือ “เศร้า”
.
อาการของ โรคซึมเศร้า เป็นไปได้ตั้งแต่ เครียด หดหู่ กลัว โกรธ ไม่มีทางออก สิ้นหวัง เศร้า ดุดัน ก้าวร้าว ตื่นเต้น หรือแม้แต่ร่าเริงผิดปกติ !!!
.
อาการของคนเป็นโรคนี้ ไม่จำเป็นต้อง “ซึม” และ “เศร้า” แค่อาจจะมาแบบ “เหวี่ยง” “โกรธ” หรือกระวนกระวาย อาจโกรธมากได้อย่างที่ไม่ควรโกรธ กลัวได้มากโดยที่ไม่มีอะไรให้กลัว เศร้าได้เองโดยไม่ต้องมีความทุกข์ รู้สึกผิดหรืออับอายรุนแรงได้กับเรื่องที่คนอื่นอาจจะเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย
.
ทั้งหมดนี้เป็นเพราะความผิดปกติของสารเคมีในสมองที่หลังสารมากระตุ้นให้เกิดอารมณ์ต่างๆ มันหลั่งออกมาเยอะไป (คอร์ติซอล, อะดรีนาลีน) หรือบางที สารดีๆที่ควรหลั่ง เช่น สารความสุข (ซีโรโทนิน เอ็นดอร์ฟิน และโดปามีน )ก็ดันไม่หลั่งตามที่ควร

.
คนปกติ สมองจะหลั่งสาร ออกมาสมดุลกับสิ่งเร้า เช่น เห็นอะไรน่ากลัวระดับ 5/10 ก็จะเกิดความกลัว ระดับ 5/10 แต่คนเป็นโรค สมองมันหลั่งออกมาเยอะเกิน หรือบางทีไม่มีสิ่งเร้าก็ดันหลั่งออกมาหลอกอารมณ์ เช่น พ่อแม่ยังไม่ตาย ก็กลัวรุนแรงว่าพ่อแม่จะตายในเร็วๆนี้ …. ดังนี้เป็นต้น อาการที่ว่านี้ คือผลจากสารในสมอง หลั่งออกมาแบบมั่วๆ
.
ในทางกลับกัน สารในสมองมันก็มีสารที่ทำให้เกิดความสุขด้วย เวลาคนมันป่วย มันก็รวนไปทั้งระบบ บางคนสมองหลั่งสารสุขได้น้อยกว่าปกติก็จะซึมเป็นพักๆ บางคนสมองหลั่งเยอะเกินก็จะสุขล้นๆเว่อๆเพี้ยนๆ พอมันหยุดหลั่ง ก็เฉยๆ หรือทุกข์อีก เรียกว่า Mood swing หรืออารมณ์เหวี่ยง ออกแนวเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย
.
เหตุผลที่ทำให้ระบบการหลั่งสารพวกนี้มันรวน หมอยังสรุปไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่โชคดีที่เขาคิดค้นยาออกมาแก้ เพื่อปรับสมดุลได้แล้ว
.
วิธีป้องกันหรือรักษาโรคนี้ ก็คือต้องคอยสังเกต ถ้ารู้สึกว่า มีอารมณ์มากไปกับเรื่องต่างๆ ที่ไม่น่าจะมีอารมณ์รุนแรงได้ขนาดนั้น หรืออยู่ดีๆก็เกิดอารมณ์เศร้าหรือโกรธหรือกลัวขึ้นมาโดยไม่ได้มีอะไรให้เศร้าจริงๆ อาจเป็นอาการของโรค ก็แค่รีบไปหาหมอ
.
ถ้าหมอวินิจฉัยแล้วว่าป่วย เขาก็จะให้ยามากิน โอกาสหายขาดก็มี

.
นอกเหนือจากปัจจัยอื่นๆที่มีผลต่อระดับความสมดุลของสารเคมีในสมองผู้ป่วย ที่ยังคงอยู่ในขั้นตอนการหาคำตอบของวงการแพทย์ ปัจจัยสำคัญของโรคซึมเศร้า ที่ร่างกายไม่หลั่งฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความสุขออกมา และกลับหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความรู้สึกเครียด ทุกข์ กังวล หดหู่ ออกมามากเกินไปนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากวิถีชีวิตของผู้ป่วยเอง ที่บ่อยครั้งอาจเกิดจากความเคยชินผิดๆ เช่น การนำพาตนเองไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมบางอย่าง ที่ทำให้ร่างกายไม่หลั่งฮอร์โมนความสุขออกมาตามปกติ และอาจกระตุ้นให้หลั่งฮฮร์โมนทุกข์และเครียดออกมามากเกินปกติ ดังนั้นจึงเป็นที่สังเกตได้ว่า สาเหตุของโรคนี้ อาจมาจากรูปแบบการใช้ชีวิตที่ส่งผลเสียต่อร่างกายและจิตใจในรูปแบบต่างๆ การเปลี่ยนวิถีชีวิตให้เป็นไปอย่างเหมาะสม ก็น่าจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคได้


หนึ่งในปัจจัยที่น่าจับตามอง คือการที่ผู้คนบ้านเราพากันหลบเลี่ยงชีวิตกลางแจ้ง รวมไปถึงการทำงานกลางแจ้งที่ต้องใช้แรงงาน เห็นแสงแดดเป็นภัยร้ายแผดเผาชีวิตและผิวพรรณ แต่หารู้ไม่ว่า แท้ที่จริงแล้ววิถีชีวิตกลางแจ้งที่ได้สัมผัสกับแสงแดดในระดับที่กำลังเหมาะ ได้ใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางธรรมชาติอันสดใสนั้น มีผลดีต่อร่างกายและจิตใจของเรามากกว่าผลเสีย จึงเป็นการดีที่เราจะมาทำความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ชีวิตกลางแจ้งที่ทำให้เรามีความสุขมากขึ้นโดยไม่ต้องเสียสตางค์
.
ประโยชน์อย่างแรกที่เราเรียนกันมาตั้งแต่เด็กคือ การได้รับแสงแดดอันอบอุ่น เสริมวิตามินดีให้ร่างกาย ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง แต่รู้หรือไม่ว่า นอกจากเรื่องวิตามินดีแล้ว ไลฟ์สไตล์กลางแจ้งไม่ว่าจะเป็นการเล่นกีฬา ทำงาน หรือแม้แต่การเดินเล่นพักผ่อนหย่อนใจยังกระตุ้นให้เรากระฉับกระเฉงทั้งร่างกายและจิตใจ การเปลี่ยนอิริยาบทจากการอยู่ในห้องแอร์ นอนเล่นดูทีวีหรือเล่นโทรศัพท์ทั้งวันมาเป็นการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ช่วยให้ร่างกายได้ใช้พลังงาน กระตุ้นการเผาผลาญได้ดีเยี่ยม
line012

ผู้คนจะมีความสุขมากขึ้นและมีความทุกข์น้อยลงเมื่ออยู่กลางแจ้ง
โดยกลไกธรรมชาติของร่างกายที่จะมีการหลั่งฮอร์โมนสร้างความสุข คือ
เซโรโทนิน, โดปามีน, เอ็นโดรฟีน และ ออกซิโทซิน

line012
เซโรโทนิน เป็นตัวกำหนดสารเคมีในร่างกายที่สำคัญที่สุดตัวหนึ่งเมื่อได้แสงสว่างที่พอเหมาะ ควบคุมความอยากอาหาร ความจำ อารมณ์ แล้วก็ความต้องการทางเพศ
.
และเมื่อออกมาขยับเนื้อขยับตัวจนได้เหงื่อจากการเล่นกีฬาหรือท้าทายตัวเองในการออกกำลัง ร่างกายก็จะหลั่งฮอร์โมนสำคัญอีกตัวที่ชื่อว่า โดปามีน ออกมาทำให้เรารู้สึกดี อิ่มเอม กับชัยชนะไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ที่เราท้าทายตัวเองได้สำเร็จ
.
นอกจากนี้การได้ทำกิจกรรมต่างๆที่สร้างสรรค์ ก็จะมีฮอร์โมน เอ็นโดรฟีน ออกมาทำให้เรารู้สึกสนุกสนาน กินอาหารได้อร่อย และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน สามารถทนความเจ็บปวดและจัดการกับความเครียดและความไม่สบายได้อย่างดี
.
อีกหนึ่งฮอร์โมนดีๆเพื่อความสดใสของชีวิตที่มากับไลฟ์สไตล์กลางแจ้งคือ ออกซิโทซิน เป็นฮอร์โมนหลักที่ช่วยให้เราสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับคนอื่น มีความมั่นใจในตัวเอง ความเชื่อใจและมองโลกในแง่ดีและยังเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้เราเอาชนะความอายและเข้าสังคมได้ดีขึ้นด้วย
.
ด้วยเหตุผลที่เป็นวิทยาศาสตร์ในเรื่องของฮอร์โมนที่กล่าวมานี้ คงตอบให้หายสงสัยกันได้ไม่ยากว่า ทำไมคนเราจึงควรออกมามีชีวิตกลางแจ้งบ้างตามสมควร เพราะบางทีการที่คนสมัยนี้เป็นโรคซึมเศร้ากันเยอะ ส่วนหนึ่งไม่ได้มาจากปัญหาที่เกิดขึ้นจนเกิดเป็นความทุกข์จริงๆในชีวิต แต่เป็นเพราะความรู้สึกเศร้าที่เกิดจากการขาดฮอร์โมนสร้างความสุข ซึ่งโดยปกติร่างกายจะผลิตออกมาตามธรรมชาติ เมื่อใช้ชีวิตเคลื่อนไหวกลางแจ้ง ถ้ารู้อย่างนี้แล้ว ก็อย่ารอช้า จูงมือกันออกมาสนุกกับชีวิตกลางแจ้งให้เต็มที่

.

แต่ถ้าเริ่มรู้สึกได้ว่า มีความผิดปกติทางอารมณ์ หรือ อาการบางอย่างของโรคซึมเศร้าเริ่มคุกคามคุณแล้ว ทางที่ดีที่สุดคือไปพบแพทย์ อย่าปล่อยให้โรคที่ทำร้ายคุณและคนรอบข้าง…จนสายเกินแก้