ลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ … ดีไหม

starbucks-1281880_1920

Investing in Franchise Business

สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ได้รับผลกระทบจากทั้งวิกฤตโรคระบาดและสงครามกำลังอยู่ในสภาวะที่ยากลำบากกันไปทั่วทุกหย่อมหญ้า คนจำนวนไม่น้อยต้องออกจากงานประจำ และเริ่มต้นหาโอกาสด้านอาชีพและการลงทุนใหม่ๆ ซึ่งการเริ่มต้นลงทุนทำธุรกิจของตัวเองนั้นย่อมจะต้องใช้เวลานานในการเรียนรู้ การลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ จึงหนึ่งในตัวเลือกของคนที่อยากมีธุรกิจเป็นของตัวเอง เพราะเป็นธุรกิจที่สามารถเริ่มต้นได้โดยใช้เวลาไม่นาน แม้ไม่มีประสบการณ์ ไม่ต้องเสียเวลาในการบุกเบิกหรือลองผิดลองถูก

.

ความหมายของธุรกิจแฟรนไชส์ คือ ธุรกิจที่เจ้าของสิทธิ (Franchisor) ตกลงอนุญาตให้ผู้รับสิทธิ (Franchisee) ดำเนินธุรกิจภายใต้ชื่อการค้า การบริหาร และระบบธุรกิจที่เจ้าของสิทธิเป็นผู้พัฒนาขึ้น ผู้รับสิทธิจะต้องดำเนินธุรกิจตามรูปแบบและระบบธุรกิจของเจ้าของสิทธิ และจ่ายค่าตอบแทนแก่เจ้าของสิทธิ   เจ้าของสิทธิก็คือคนหรือองค์กรที่คิดค้นวิธีการทำธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา จนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ และเป็นผู้ขายสิทธิการดำเนินการขายชื่อการค้าของตัวเองให้แก่ผู้อื่น อย่างเช่น เชสเตอร์กริลล์ เป็นผู้คิดค้นร้านอาหารประเภทไก่ย่าง และสูตรอาหาร มีรูปแบบการจัดการร้าน การจัดการเฉพาะตัว จนกระทั่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักแล้ว ขายระบบทั้งหมดให้แก่ผู้อื่น บริษัทของเชสเตอร์กริลล์อยู่ในฐานะเป็นเจ้าของสิทธิและเป็นผู้ขายแฟรนไชส์ให้ผู้อื่น โดยผู้ซื้อสิทธิ์เรียกว่าแฟรนไชซอร์

สรุปให้เข้าใจง่าย ธุรกิจแฟรนไชส์ (Franchise Business) เป็นระบบธุรกิจที่ประกอบไปด้วย ลักษณะสำคัญ 3 ประการคือ

  1. เป็นธุรกิจที่จะต้องมีเจ้าของสิทธิ  (Franchisor)  ถ่ายทอดวิทยาการ การทำธุรกิจทุกอย่างให้แก่ผู้รับสิทธิอย่างใกล้ชิด

  2. ผู้รับสิทธิ (Franchisee) จะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมในการใช้ชื่อการค้าเป็นค่าธรรมเนียมเริ่มแรก (Franchise Fee)

  3. ผู้รับสิทธิจะต้องจ่าย ค่าธรรมเนียมเป็นเปอร์เซ็นต์ (Royalty Fee)

.

จากข้อมูลเบื้องต้นที่กล่าวมาข้างต้นเกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์นี้ บอกให้รู้ว่า ธุรกิจแฟรนไชส์เหมาะกับผู้ที่มีเงินลงทุน มีทำเลที่เหมาะสมในการทำธุรกิจ แต่ผู้ที่ยังไม่มีเงินทุนก้อนใหญ่สำหรับการเริ่มต้นก็ยังมีโอกาสลงทุนในธุรกิจแฟรนไชส์ได้เหมือนกัน เพราะเป็นหนึ่งในรูปแบบการลงทุนที่ได้รับความสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและสถาบันการเงินต่างๆ คนที่จะลงทุนทำแฟรนไชส์จึงสามารถขอกู้เงินมาทำธุรกิจได้ โดยศึกษาข้อมูลแฟรนไชส์ที่ทำข้อตกลง (MOU) ร่วมกับธนาคาร และตัดสินใจเลือกแฟรนไชส์ที่ต้องการลงทุน โดยเจ้าของแฟรนไชส์จะต้องให้ข้อมูลต่างๆแก่ผู้ที่สนใจจะลงทุนอย่างละเอียด มีการอบรมความรู้ให้กับผู้ลงทุน ตรวจสอบสถานะผู้ลงทุน ก่อนที่จะออกหนังสือผ่านสิทธิ์ให้กับผู้ลงทุนหรือผู้ซื้อสิทธิ์ เพื่อใช้ประกอบการยื่นกู้ โดยผู้ลงทุนจะต้องจัดเตรียมเอกสารต่างๆให้พร้อม เพื่อให้ธนาคารอนุมัติสินเชื่อ ก่อนที่จะนำเงินทุนที่กู้มาได้มาจ่ายให้เจ้าของแฟรนไชส์ และทางเจ้าของแฟรนไชส์ก็จะส่งมอบอุปกรณ์การทำธุรกิจ พร้อมการดูแลให้คำปรึกษาแก่ผู้ลงทุนในการทำธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
จำนวนเงินให้กู้จากธนาคารของแต่ละรายจะไม่เกินมูลค่าของสัญญาที่เจ้าของแฟรนไชส์เรียกเก็บค่าธรรมเนียมและ/หรือค่าใช้จ่ายในการลงทุนทำธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่น ธนาคารออมสิน วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 1.0 ล้านบาท/ราย อัตราดอกเบี้ยเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยกรณีผิดนัด ไม่ชำระหนี้ ให้เป็นไปตามที่ธนาคารประกาศกำหนด สำหรับระยะเวลาในการชำระคืน ก็มีทั้งประเภทเงินกู้ระยะสั้นที่มีการทบทวนวงเงินทุกปี ประเภทเงินกู้ระยะยาว ไม่เกิน 7 ปี และกรณีใช้บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ค้ำประกันให้มีระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ตั้งแต่ 3 ปี แต่ไม่เกิน 7 ปี

.

สิ่งสำคัญที่ต้องทำความเข้าใจก่อนทำธุรกิจแฟรนไชส์คือ

  • ผู้ลงทุนต้องสำรวจความต้องการและเงื่อนไขของตัวเองให้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นจุดอ่อน จุดแข็ง ความชอบ ข้อจำกัด ฯลฯ เพื่อหารูปแบบแฟรนไชส์ที่เหมาะสมกับตัวเราจริงๆ

  • ศึกษารายละเอียดต้นทุน ค่าธรรมเนียม และระยะเวลาคืนทุนโดยวิเคราะห์ดูว่าค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่เรียกเก็บนั้นสมเหตุสมผลหรือไม่ เปรียบเทียบผลตอบแทนกับค่าใช้จ่ายให้ดี โดยเฉพาะเรื่องของระยะเวลาคืนทุน ซึ่งควรมีระยะเวลาคืนทุนสอดคล้องกับสัญญาแฟรนไชส์ เพื่อเป็นหลักประกันได้ว่า ผู้ลงทุนจะมีกำไรที่มากขึ้นภายหลังจากระยะเวลาคืนทุน ซึ่งเป็นระยะเวลาเก็บเกี่ยวรายได้ของธุรกิจ

  • วิเคราะห์ศักยภาพของแฟรนไชส์ที่จะลงทุน ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งทางการตลาดของแบรนด์ ความแตกต่างในคุณค่าของสินค้าและบริการต้องเหนือคู่แข่ง และมีข้อมูลความสำเร็จที่น่าเชื่อถือให้เห็นอย่างตรงไปตรงมา

  • การสนับสนุนและช่วยเหลือจากเจ้าของสิทธิ์ ตรวจสอบให้มั่นใจว่า Franchisor จะพร้อมเคียงข้างช่วยสนับสนุนให้กิจการของเราไปได้ตลอดอายุสัญญา เมื่อธุรกิจเกิดปัญหาจะต้องมีระบบที่ดีสามารถส่งทีมเข้ามาแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็วเพื่อไม่ให้ธุรกิจหยุดชะงัก

  • เงินทุนในการดำเนินธุรกิจ หากเรามีเงินทุนของตัวเองก็ไม่จำเป็นต้องหาแหล่งทุนอื่น แต่หากมีเงินทุนไม่เพียงพอ Franchisor มีหน้าที่ช่วยประสานกับธนาคารพันธมิตรในการสนับสนุนสินเชื่อ เพื่อออกใบรับรองให้เราขอสินเชื่อได้ โดยอย่าลืมวิเคราะห์ความสามารถในการชำระหนี้ของตัวเองด้วย

.

สำหรับคนที่เคยทำงานประจำมาทั้งชีวิต เมื่อเริ่มมาทำธุรกิจของตัวเองมักขาดความรู้ในการบริหารจัดการต่างๆ เช่น บริหารบัญชี บริหารทรัพยากรบุคคล บริหารการตลาด ฯลฯ ข้อดีที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของการลงในธุรกิจแฟรนไชส์คือ เราไม่ต้องปวดหัวมากนักกับจัดหาบุคลากร การฝึกอบรม หรือ การบริหารบุคลากรในสายงานต่างๆที่มาทำงานให้เราด้วยตัวเอง เพราะระบบแฟรนไชส์ที่ดีจะช่วยเราในขั้นตอนที่น่าเคร่งเครียดเหล่านี้ และหากเราเลือกธุรกิจแฟรนไชส์ที่มีศักยภาพสูง นอกจากจะทำให้โอกาสเงินลงทุนของเรางอกเงย สามารถเลี้ยงปากเลี้ยงท้องตัวเองได้แล้ว เรายังได้รับองค์ความรู้ในการทำธุรกิจนั้นๆ จากการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มีประโยชน์จากเจ้าของแฟรนไชส์ ช่วยให้เรานำความรู้ในการทำธุรกิจมาต่อยอดในการทำงานหรือในการลงทุนประเภทอื่นๆต่อไปได้ หรือถ้าเห็นโอกาสในการเติบโต หรือหาทำเลที่ดีเพิ่มได้ ก็สามารถขยายสาขาเพิ่มได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ทำให้มีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากขึ้น

อ้างอิง

https://www.scb.co.th

https://www.franchising.com/byinvestment/

https://www.franchisefocus.co.th/index.php/what-is-franchise.html

https://www.gsb.or.th/gsb_govs/gsbfranchise/

Related posts:

You may also like...