สวนสราญรมย์

M_saranrom

ที่ตั้ง:

ขนาดพื้นที่:

เวลาทำการ:

ประเภทของสวน:

รถประจำทาง:

line

ประวัติความเป็นมา

พระราชอุทยานเก่าแก่คู่พระนครมานับศตวรรษ คือนิยามของสวนสราญรมย์ในอดีต ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังสราญรมย์ ที่ตั้งอยู่นอกกำแพงพระบรมมหาราชวังด้านทิศตะวันออก พระราชวังแห่งนี้รัชกาลที่ 4 ทรงโปรดให้สร้างใน พ.ศ. 2409 ตรงบริเวณตึกดินเก่า เพื่อเป็นที่ประทับหลังทรงสละราชสมบัติให้พระราชโอรสแล้ว แต่ยังสร้างไม่เสร็จก็ทรงเสด็จสวรรคตเสียก่อน จนมาแล้วเสร็จในรัชกาลที่ 5 ซึ่งพระราชทานให้ใช้เป็นที่ประทับของ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอหลายพระองค์ เมื่อแรกเสด็จจากวังหลวง ก่อนที่วังส่วนพระองค์จะสร้างเสร็จ ต่อมาใช้เป็นสถานที่รับพระราชอาคันตุกะจากต่างแดน เช่น เจ้าชายออสคาร์ พระราชโอรสแห่งกษัตริย์สวีเดนในปี พ.ศ. 2427 ซึ่งเจ้าชายพระองค์นี้ทรงบันทึกไว้ถึงความงดงามของพระราชอุทยานสราญรมย์ว่า ” งดงามแปลกตา มีสถานที่เลี้ยงสัตว์และนก” รัชกาลที่ 5 ทรงโปรดให้ตกแต่งราชอุทยานให้สวยงามร่มรื่น โดยให้นายเฮนรี่ อาลาบาสเตอร์ ซึ่งรอบรู้ด้านพฤกษศาสตร์ เป็นผู้ดูแลจัดการสวนหลวง จนพระราชอุทยานสราญรมย์เป็นที่ร่ำลือว่า ” งามน่าชมมากเป็นที่เสด็จประพาสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเจ้านายฝ่ายในเสมอๆ ” มีการตกแต่งด้วย สระน้ำพุ สวนไม้ดอกไม้ประดับ กล้วยไม้ ไม้ยืนต้น โดยเฉพาะ “กุหลาบแดง” ไม้ดอกที่ทรงโปรดปราน มีกรงสัตว์ กรงนก สระจระเข้ เลี้ยงไว้ดูเล่น

ต่อมาในปี 2447 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช (รัชกาลที่ 6) ทรงโปรดใช้พระราชอุทยานเป็นที่ฝึกซ้อมวิชาทหารแก่มหาดเล็กรักษาพระองค ์และเป็นศูนย์กลางขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม และแนวความคิดใหม่ ๆ ในนาม “ทวีปัญญาสโมสร” และเมื่อทรงขึ้นครองราชย์ทรงใช้เป็นที่จัดงานฤดูหนาวประจำปี

ในรัชกาลที่ 7 หลังเปลี่ยนแปลงการปกครองได้เป็นที่ตั้งของสโมสรคณะราษฎร์สราญรมย์ ต่อมาสมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย และกรมประชาสงเคราะห์เคยใช้เป็นที่ทำการ รวมถึงใช้สถานที่จัดประกวดนางสาวไทย จัดงานวชิราวุธ ทั้งยังเคยเป็นตลาดนัด ตลาดขายสุนัขอัลเซเชี่ยนในยามบ่ายเมื่อครั้งอดีต ซึ่งต่อมาวันที่ 3 มิถุนายน 2503 รัฐบาลได้มอบให้กรุงเทพมหาครดูแลและ ประปรุงเป็นสวนสาธารณะตั้งแต่นั้นมา

ลักษณะเด่นและจุดที่น่าสนใจในสวน

ความมีชีวิตชีวาของสวนสราญรมย์ดูจะเริ่มแต่เช้ามืดของทุกวัน ภาพกระแสผู้คนในย่านเกาะรัตนโกสินทร์ หลั่งไหลกันมาออกกำลังกายตามความพึงพอใจ แม้แต่รูปแบบที่แฝงด้วยศิลปวัฒนธรรมอย่างเช่น รำมวยจีน รำกระบี่ ควงกระบอง ลีลาศ ก็มีให้เห็นทั้งเช้าและเย็น ส่วนสถานที่พบปะสังสรรค์ทำกิจกรรมกลางแจ้ง ห้องเรียนธรรมชาติแห่งวิชาศิลปะและนิเวศวิทยาของเด็ก คือบทบาทในเวลากลางวันของสวนสราญรมย์เช่นกัน ภาพดังกล่าวสะท้อนคุณค่า และบทบาทต่อชุมชนของสวนสาธารณะใจกลางเมืองได้เป็นอย่างดี และด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนานผ่านกาลเวลามา นับศตวรรษ ทำให้ทุกหนแห่งในสวนสามารถสะท้อนลักษณะสวนไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ที่ได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมตะวันตก เห็นได้ชัดจากโบราณวัตถุสถานประกอบสวน และแฝงไว้ด้วยตำนานแห่งความรักความอาลัย ของพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ในอดีตและพระอัครมเหสี เหล่านี้ล้วนเป็นเสน่ห์ที่สร้างให้พระราชอุทยานในอดีตกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ในรูป “สวนศิลปวัฒนธรรม”

อนุสาวรีย์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ฯ รัชกาลที่ 5 ทรงมีพระบรมราชโองการให้สร้างเมื่อ พ.ศ. 2426 เป็นอนุสรณ์สถานแห่งความรัก อาลัยที่พระองค์มีต่อพระอัครมเหสี และพระราชธิดา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ผู้สิ้นพระชนม์ในอุบัติเหตุเรือพระที่นั่งล่ม สร้าง ณ บริเวณที่พระนางเคยทรงพระสำราญ เมื่อครั้งทรงมีพระชนม์ชีพ มีพื้นที่ 176079 ตารางเมตร อนุสาวรีย์ทำด้วยหินอ่อนบอกเล่า คำจารึกแสดงความทุกข์โทมนัสของพระองค์จากการสูญเสียในครั้งนั้น

ศาลาเรือนกระจก ตึกโถงชั้นเดียวกรุกระจก มีดาดฟ้าตกแต่งด้วยไม้ฉลุลวดลาย วิจิตร ใน พ.ศ. 2447 เป็นที่ตั้งของทวีปัญญาสโมสร และโรงละครทวีปัญญา เป็นสโมสรแบบตะวันตกของเจ้านายและข้าราชกาชั้นสูง มีการออกหนังสือทวีปัญญารายเดือน การเล่นกีฬาในร่มและกลางแจ้ง ละครพูด และห้องอ่านหนังสือ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งโรเรียน ต้นไม้กทม. ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา

ศาลากระโจมแตร งดงามด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรม ใช้บรรเลงแตรวงทหารเรือ และดนตรีอื่น เวลามีงานเลี้ยงบริเวณพระราชอุทยาน สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 ครั้งทรงดำรงพระอิสริยายศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร

ศาลาแปดเหลี่ยม เป็นศาลาพักผ่อน แสดงลักษณะสถาปัตย- กรรมที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 5

ศาลเจ้าแม่ตะเคียนทอง คือ เก๋งจีนในอดีตเมื่อครั้งสร้างสวน

ศาลากระโจมแตร งดงามด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรม ใช้บรรเลงแตรวงทหารเรือ และดนตรีอื่น เวลามีงานเลี้ยงบริเวณพระราชอุทยาน สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 ครั้งทรงดำรงพระอิสริยายศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธสยามมกุฎราชกุมาร

ศาลาแปดเหลี่ยม เป็นศาลาพักผ่อน แสดงลักษณะสถาปัตย- กรรมที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 5

ศาลเจ้าแม่ตะเคียนทอง คือ เก๋งจีนในอดีตเมื่อครั้งสร้างสวน

ประตูลายพันธุ์พฤกษาพร้อมซุ้มประตู ได้รับการ อนุรักษ์ขึ้นทะเบียนจากกรมศิลปากร เช่นสิ่งก่อสร้างอื่นในสวน มีลวดลายที่ประณีตอ่อนช้อย

น้ำพุพานโลหะ น้ำพุสไตล์ยุโรป โบราณวัตถุอายุนับศตวรรษ เป็นองค์ประกอบตกแต่งพระราชอุทยานในอดีต

ต้นจำปาเทศ ( Pterospermum acerifolium ) พันธุ์ไม้ หายากของไทยที่อนุรักษ์ไว้ ปลูกอยู่ข้างอาคารเรือนกระจก ดอกมี ลักษณะแปลกสวยสะดุดตามีกลิ่นหอม ออกดอกราวเดือน ม.ค.-ก.พ.

ดนตรีในสวน การแสดงดนตรีไทย สากล สลับหมุนเวียนกับสวน สาธารณ อื่นของกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะแสดงในช่วงเวลาเย็น

นันทนาการในสวน จัดให้มีการนำเต้นแอโรบิคทุกวันตอนเย็น ซึ่งมีประชาชนสนใจมาก

line

แหล่งข้อมูล : สำนักงานสวนสาธารณะ สำนักสิ่งแวดล้อม

 

Related posts:

You may also like...